เมื่อวันที่ 7 ส.ค. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่ จ.ลพบุรี ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมทุกมิติทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ของคนในพื้นที่ รวมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง และการแก้ไขปัญหาจราจร
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การลงพื้นที่ตรวจราชการครั้งนี้ เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเร่งรัดการดำเนินโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ดังนี้ มิติด้านการพัฒนาทางถนน 1. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง มีโครงการก่อสร้างทางในพื้นที่ จ.ลพบุรี ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.1 โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 366 ทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านใต้ ตอน 1 ระยะทาง 6.550 กิโลเมตร (กม.) ขยายเป็น 4 ช่องจราจร ปัจจุบันมีความคืบหน้า 65.58% คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 66 และ 1.2 โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 366 ทางเลี่ยงเมืองลพบุรีด้านใต้ ตอน 2 ระยะทาง 7.952 กม. ขยายเป็น 4 ช่องจราจร คืบหน้า 71.68% คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 66 นอกจากนี้ ยังมีโครงการทางหลวงที่ได้รับงบประมาณในปี 65 (โครงการปีเดียว) อีก 11 โครงการ ระยะทาง 30.158 กม. เช่น การพัฒนาทางหลวงย่านชุมชน การพัฒนาสะพาน ระบบระบายน้ำ เป็นต้น
2. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท มีโครงการที่ได้รับงบประมาณปี 65 จำนวน 51 โครงการ วงเงิน 641.790 ล้านบาท อาทิ 2.1 โครงการปรับปรุงเรขาคณิตของทาง ถนนสาย ลบ.2034 แยก ทล.21-บ้านน้ำซับ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม อ.เมือง จ.ลพบุรี เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และส่งเสริมการคมนาคมขนส่งให้ขยายตัวอย่างเป็นระบบ โครงการฯ ดำเนินการแล้วเสร็จ 2.2 โครงการก่อสร้างถนนสาย ลบ.1036 แยก ทล.1-บ้านป่าหวาย อ.เมือง จ.ลพบุรี เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง ส่งเสริมการคมนาคมขนส่งให้ขยายตัวอย่างเป็นระบบ คาดว่าแล้วเสร็จต้นปี 67
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า มิติการพัฒนาระบบราง กระทรวงคมนาคมดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งทางราง เพื่อสนับสนุนการขนส่งทางรางที่มีความปลอดภัยให้เป็นระบบขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าหลักของประเทศ โดยมีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ แบ่งเป็น แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (ปี 60-64) 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กม แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 (ปี 65-69) 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ และจัดทำรายงาน EIA และมีแผนพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่ระยะถัดไปอีก 12 เส้นทาง
โดยการพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ในพื้นที่ จ.ลพบุรี ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีบ้านกลับ สิ้นสุดที่สถานีปากน้ำโพ ก่อสร้างขนานไปกับทางรถไฟเดิม ก่อสร้างทางรถไฟ 2 ทาง ได้แก่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ (ช่วงบ้านกลับ-โคกกระเทียม) เป็นโครงสร้างทางรถไฟยกระดับที่ยาวที่สุดในไทย ระยะทาง 19 กม. และเลี่ยงเมือง ระยะทางรวม 29 กม. และช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ (ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ) ระยะทาง 116 กม. คาดว่าเปิดให้บริการปี 66 นอกจากนี้กระทรวงคมนาคม มีแผนเร่งรัดพัฒนารถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ระยะทาง 2,506 กม. มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่ผ่านพื้นที่ จ.ลพบุรี ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. 7 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เห็นชอบรายงาน EIA แล้ว อยู่ระหว่างการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุน
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า มิติการพัฒนาทางน้ำ1. โครงการพัฒนาเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำป่าสัก หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 7 ต.ท่ามะนาว อ.ชัยบาดาล เพื่อแก้ไขปัญหาตลิ่งพังทลาย ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมทางถนนที่ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรร่วมกัน รวมทั้งบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างของประชาชนบนฝั่ง ปัจจุบันมีความคืบหน้า 97% คาดว่าแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.65, 2. โครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศพื้นที่ จ.ลพบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะตลิ่งพัง เพิ่มพื้นที่ในการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก และกักเก็บน้ำไว้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนระยะยาวอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมเจ้าท่าดำเนินการแล้วเสร็จ 7 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 โครงการ คาดว่าแล้วเสร็จปี 65คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมมีโครงการเพื่อเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะ จากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี 54 เส้นทาง รวมทั้งโครงการต่างๆ เพื่อรณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน โดยกำกับดูแลตรวจสอบความปลอดภัยการเดินรถโดยสารสาธารณะ ตั้งจุดตรวจเข้มข้นรถโดยสารสาธารณะ Checking Point ตรวจจับความเร็วรถโดยสารสาธารณะ และรถบรรทุกด้วยกล้องเลเซอร์ ศูนย์บริหารจัดการการเดินรถด้วยระบบ GPS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รองรับปริมาณการเดินทาง และการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้มอบให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมดำเนินงานทุกโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนเป็นลำดับแรก รวมทั้งความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และดำเนินการตามมาตรการ และแนวปฏิบัติระยะยาวสำหรับโครงการก่อสร้างของกระทรวงคมนาคมทั้งหมด โดยเพิ่มมาตรการการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย นำระบบ Safety Audit มาใช้ระหว่างก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ประชาชนถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการก่อสร้างของกระทรวงคมนาคม และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือผลกระทบด้านความปลอดภัยต่อประชาชนผู้ใช้ทางขึ้นอีก รวมทั้งปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในปัจจุบันให้มีความมั่นคง และความปลอดภัยเพิ่มขึ้นคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg
นอกจากนี้ยังมอบให้หน่วยงานเร่งพัฒนาระบบ และวิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมให้กระชับ รวดเร็ว ทันสมัย และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งบูรณาการการทำงานกับภาคเอกชนในการจัดระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยพิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้ตรงกับรูปแบบการใช้บริการของประชาชน รวมทั้งคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาโครงข่าย โดยให้หน่วยงานคมนาคมในพื้นที่บูรณาการกับจังหวัดลพบุรี เพื่อให้การจัดทำงบประมาณลงพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน.